คู่มือการเชื่อมต่อระบบ LAN แบบ Dot 1x

คู่มือการเชื่อมต่อระบบ LAN แบบ Dot 1x

โดยแยกไปตามระบบปฏิบัติการครับ

หากมีข้อสงสัยหรือติดปัญหาในการใช้บริการ (เบื้องต้น) ติดต่อได้ที่กลุ่มงานระบบเครือข่าย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ล้านนา โทร 053921444 ต่อ 1678  หรือติดต่อไปที่ FanPage ของสำนักวิทยบริการฯ ครับ




คู่มือการเชื่อมต่อระบบ @Internet-RMUTL

อัพเดทคู่มือการเชื่อมต่อระบบ @Internet-RMUTL

โดยแยกไปตามระบบปฏิบัติการครับ

 

  • คู่มือการเชื่อมต่อด้วย Android   คลิ๊กที่นี่  Android dot1x
  • คู่มือการเชื่อมต่อด้วย IOS คลิ๊กที่นี่  IOS dot1x
  • คู่มือการเชื่อมต่อด้วย Windows XP คลิ๊กที่นี่  Win XP dot1x
  • คู่มือการเชื่อมต่อด้วย Windows 7 คลิ๊กที่นี่  Win7 dot1x
  • ไฟล์ตั้งค่าสำเร็จรูปสำหรับ Windows 7 คลิ๊กที่นี่ WLANProfileWin7  คู่มือ  WLAN Setup
  • คู่มือการเชื่อมต่อด้วย Windows 8 คลิ๊กที่นี่  Win8 dot1x
  • คู่มือการเชื่อมต่อด้วย Windows 10 คลิ๊กที่นี่  Win10 dot1x
  • คู่มือการเชื่อมต่อด้วย Windows Phone คลิ๊กที่นี่  Windows Phone dot1x

หากมีข้อสงสัยหรือติดปัญหาในการใช้บริการ (เบื้องต้น) ติดต่อได้ที่กลุ่มงานระบบเครือข่าย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ล้านนา โทร 053921444 ต่อ 1678  หรือติดต่อไปที่ FanPage ของสำนักวิทยบริการฯ ครับ




การปรับตั้งค่า KMS ฝั่ง Server

ก่อนหน้านี้ผมได้อธิบายความเป็นมาของ KMS อย่างคร่าว ๆ ไว้ที่ลิงค์นี้ http://noc.rmutl.ac.th/main/?p=1019 คราวนี้ก็ถึงเวลาของ KMS ฝั่งที่เป็น Server บ้างครับ ซึ่งต้องอธิบายอีกนิดในส่วนของ Server และ Key ที่จะนำมาใช้ โดยที่ Microsoft ได้แบ่งประเภทของคีย์ KMS ไว้เป็น 3 กรุ๊ป คือ A,B,C ซึ่งกรุ๊ปที่สามารถควบคุมระบบปฏิบัติการรวมไปถึงออฟฟิตได้ทุกรุ่นคือกรุ๊ป C แล้วที่เหลือก็ลดระดับความสำคัญกันมาตามลำดับ ดังรูป

รูปจาก http://blogs.technet.com/b/migreene/archive/2008/02/28/2940897.aspx

 ท่านสามารถอ่านรายละเอียดการควบคุมกรุ๊ปของ KMS แต่ละชุดได้จากที่นี่ครับ http://technet.microsoft.com/en-us/library/ff793422.aspx

ความต้องการของ KMS ฝั่ง Server

  • OS เป็น Microsoft Windows Server 2008R2 ขึ้นไป (อาจจะใช้รุ่นต่ำกว่าก็ได้ครับ แต่ต้องลง Patch อีกนิดหน่อย ก็ขอข้ามไปเลยละกัน)
  • เพิ่ม Record ใน DNS (กรณีที่ต้องการใช้งานเป็นชื่อโดเม็น หรือกรณีที่ต้องการให้เครื่องที่ Join Domain สามารถ Activation ได้โดยอัตโนมัติ)
  • ชุดคีย์ KMS ที่กำหนดไว้ เช่นชุด A,B หรือ C

ขั้นตอนการติดตั้ง

  • สมมุติว่าได้ทำการติดตั้ง OS เป็น Windows Server 2008R2 และมีการติดตั้ง DNS เรียบร้อยแล้ว
  • ที่เครื่อง DNS ให้ทำการปรับแต่งค่าดังนี้ (หากเครื่อง KMS และ DNS เป็นเครื่องเดียวกัน หรือมีสิทธิในการเขียน record dns แล้ว ให้ใช้คำสั่งนี้ slmgr /sdns เพื่อสร้าง record โดยอัตโนมัติ)
ใน Zone ที่ต้องการ (แนะนำให้เป้น Private Zone ที่เชื่อมต่อภายนอกไม่ได้ ในที่นี้ผมใช้เป็น .local เพื่อป้องกันไม่ให้มีการรเรียกใช้งานจากภายนอก) คลิ๊กขวาใน zone แล้วเลือก Other New Records…

 

 เลือก Sevice Location (SRV) จากนั้นคลิ๊กที่  Create Record

 

 

ที่หน้าต่าง New Resource Record ให้ปรับแต่งค่าดังต่อไปนี้

Service: _VLMCS  (ต้องพิมพ์เองนะครับ มันไม่มีให้เลือก)
Protocol: _tcp
Port: 1688
Host offering the service: kms.rmutl.local  (คือชื่อของเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น KMS ครับ และต้องมี A Record อยู่แล้ว )

เมื่อปรับแต่งค่าครบแล้ว ให้คลิ๊กที่ ok ครับ เป็นอันเสร็จสิ้นการปรับแต่งค่าของ DNS

ปัญหาที่เจอก็อาจจะเป็นการลืมเพิ่ม A Record ครับ อาจจะทดสอบโดยการใช้คำสั่ง nslookup kms.rmutl.local ในการตรวจสอบว่าสามารถตอบกลับเป็นไอพีได้ถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง ให้ทำการตรวจสอบ A Record อีกครั้งครับ

หากท่านใดใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ทำหน้าที่เป็น DNS ให้เพิ่ม Record ดังนี้

_VLMCS._tcp.rmutl.local.     IN     SRV     0    0    1688     kms.rmutl.local.

อย่าลืมเติมจุด ด้านหลังนะครับ เพราะสำคัญมาก

 

  • ที่ Server KMS ให้ทำการปรับแต่งค่าดังนี้
  1.  ให้เปิด cmd ด้วยสิทธิของ Administrator  (Run as Administrator)
  2. ให้แน่ใจว่า พาร์ทตอนนี้อยู่ที่ c:windowssystem32 หากไม่อยู่ก็ให้ใช้คำสั่ง cd c:windowssystem32
  3. cscript slmgr.vbs /ipk  xxxxx-xxxxx-xxxxx-xxxxx-xxxxx [ใส่เป็น key KMS ของ Windows 2008 R2 คีย์ที่ระบุว่าเป็น KMS C,B,A ตัวใดตัวหนึ่ง]
  4. Activate ด้วยคำสั่ง cscript slmgr.vbs /ato   เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการของฝั่ง Server

 

หมายเหตุ : ไฟล์วอล ต้องเปิดพอร์ต tcp 1688 ให้สามารถเชื่อมต่อระหว่างลูกข่ายและ เซิร์ฟเวอร์ใด้นะครับ เพราะเมื่อเครื่องลูก Activate ไปแล้ว จะมีการเช็คทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อเช็คสถานะ หากเช็คไม่ได้ หรือไม่ได้อยู่ในระบบนานกว่า 180 วัน ไลเซนต์ของลูกข่ายจะหมดอายุโดยอัตโนมัติครับ




ประกาศแจ้ง : ขยายวงจรสื่อสัญญาณระหว่างประเทศ ในวันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 12.00 น. – 13.00 น.

อ้างอิงจาก จดหมายเวียนของ Uninet

เรียนสมาชิกเครือข่าย UniNet ทุกท่าน

เนื่องด้วยทางสำนักงานฯ จะดำเนินการขยายวงจรสื่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 30 Gbps และปรับปรุงสายสื่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตภายในประเทศ 20 Gbps เพื่อรองรับการใช้งานของสมาชิกที่มีเพิ่มขึ้น ในวันที่ 28 กันยายน 2555 ระหว่างเวลา 19.00-22.00 น. ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกไม่ได้รับความสะดวกในการใช้งานอินเตอร์เน็ตในช่วงเวลาดังกล่าว
ทางสำนักงานฯ เรียนมาเพื่อขออภัยในความไม่สะดวกในครั้งนี้ด้วย หากมีข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อทาง E-Mail: noc@uni.net.th โทร. 02-3545678 ต่อ 4004

 

การปรับปรุงดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้งานเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่อาจจะพบกับความล่าช้าหรือเข้าใช้บริการไม่ได้เลย

จึงแจ้งมาเพื่อทราบ




Uninet ขยายวงจรช่องสื่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ(IIG)

อ้างถึงจดหมายเวียน สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา มีใจความดังนี้

เรียนสมาชิก UniNet

ด้วยฝ่ายระบบเครือข่าย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา จะดำเนินการปรับปรุงวงจรช่องสื่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ[IIG] ในวันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน 2552 ในระหว่างช่วงเวลา 17.00-20.00 น. เพื่อดำเนินการขยายวงจรช่องสื่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ[IIG] จากเดิมขนาด 4 Gbps เป็น 7 Gbps เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตของสมาชิกให้มากยิ่งขึ้น

ในระหว่างช่วงเวลาการปรับปรุงดังกล่าว อาจจะทำให้สมาชิกไม่ได้รับความสะดวกในการใช้งานอินเตอร์เน็ต ทางฝ่ายระบบเครือข่าย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาต้องอภัยมาใน ณ. ที่นี้ด้วย หากมีข้อสงสัยประการใด E-Mail: noc@uni.net.th หรือ โทร: 02-3545678 ต่อ 5003-5011

ด้วยความเคารพอย่างสูง

##########################

ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ ช่วงเวลาดังกล่าว จะทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตไปต่างประเทศช้าลง  และหวังว่า เมื่อปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว จะทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตต่างประเทศ ของ มทร.ล้านนา เร็วขึ้นกว่าปัจจุบัน




มทร.ล้านนา เปิดบริการ VoIP

voipวีโอไอพี (VoIP) ย่อมาจาก วอยส์โอเวอร์ไอพี (Voice over Internet Protocol) (หรือชื่ออื่น IP Telephony, Internet telephony, หรือ Digital Phone) เป็นการสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือโครงข่ายอื่นๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล สัญญาณเสียงจะถูกตัดแบ่งเป็นแพ็คเก็ตวิ่งผ่านไปบนโครงข่ายที่ใช้สำหรับการ สื่อสารข้อมูลทั่วไป แทนการใช้วงจรเฉพาะตามวิธีการสื่อสารในระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม เปรียบได้กับการให้รถยนต์ วิ่งแทรกกันได้ตามช่องว่างที่มีอยู่ของถนน แทนการให้รถยนต์คันเดียวจองถนนวิ่งแบบผูกขาด ข้อดีของวีโอไอพีก็คือการสามารถใช้โครงข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถใช้ บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ประโยชน์ของระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่าย
1.ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารถูกลง และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
2.ไม่มีขีดจำกัดในการขยายเครือข่าย ทุกที่ทั่วโลก ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้

(สมัครโทรศัพท์ผ่านระบบเครือข่ายมหาวิทยาลัย) เป็นเว็ปไซต์ที่ให้บุคลากรสมัครใช้ Voice Over IP เป็นโทรศัพท์ผ่านระบบเครือข่ายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดเลยเพราะของทางมหาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้เช่าสัญญาณที่ link ที่เชื่อมต่อแต่ละเขตพื้นที่ไว้อยู่แล้วทำให้ไม่เสียค่า ใช้จ่ายยกตัวอย่างเช่นเขตพื้นที่เชียงใหม่โทรไปยังเขต พื้นที่เชียงราย ถ้าผ่าน Voice Over IP จะไม่ เสียค่าใช้จ่ายลดค่าใช้จ่ายดีกว่าที่จะใช้โทรศัพท์ที่โทรข้ามจังหวัด ในหน้า login ให้ใช้รหัสบัตร ประชาชนในการ login เข้าไปสมัครใช้งาน โดยจะต้องสมัคร Email ของทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนาก่อนถึงจะสมัครได้ (คู่มือการติดตั้งและใช้งานโทรศัพท์ผ่านระบบเครือข่าย)