สนุกกับ MMC ตอน Remote Desktop
ห่างหายจากการเขียนบทความไปนานพอสมควร เพราะติดภาระกิจทางราชการตลอดเลยครับ และตั้งแต่อาทิตย์หน้าก็คงไม่ว่างแล้วล่ะ วันนี้สบโอกาสมีเวลาว่าง 2-3 ชั่วโมง ก็พอจะเขียนเรื่องง่าย ๆ ซักเรื่อง เอาละเข้าเรื่องกันเลยครับ
หลาย ๆ คนคงได้ใช้งานการควบคุมคอมพิวเตอร์ระยะไกล (remote desktop) กันมาบ้างแล้ว หากมีจำนวนเครื่องที่ต้องการควบคุมไม่มากนัก ก็ไม่น่ามีปัญหา แต่หากมีจำนวนเครื่องมาก ๆ แล้วเช่น 10 – 20 เครื่อง บางคนอาจจะหลง ๆ ลืม ๆ (เช่นผมเอง) ว่าเครื่องไหนทำหน้าที่อะไร ซึ่งวันนี้ผมจะมาเสนอตัวช่วย ที่ทำให้การใช้งาน remote desktop สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยใช้ MMC (Microsoft Management Console) เข้ามาช่วยจัดการบริหาร
ความต้องการของระบบคือ
1. Windows 7 64 bit ( XP หรือตัวอื่น ๆ ก็ใช้ได้นะครับ)
2. Remote Server Administration Tools for Windows 7 (ต้องโหลดให้ตรงกับการใช้งานนะครับ เช่น 32,64 bit)
ขั้นตอนการติดตั้ง
1. ดาวน์โหลด Remote Server Administration Tools for Windows 7 จากที่นี่ http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyID=7D2F6AD7-656B-4313-A005-4E344E43997D&displaylang=en#filelist โดยเลือกให้ตรงกับเวอร์ชั่นของระบบปฏิบัติการที่ใช้
2. เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วให้ทำตามติดตั้งตามขั้นตอนปกติทั่วไปครับ
3. เปิดให้สามารถใช้งานฟังก์ชั่นของ Remote admin ได้ โดยไปที่ Control Panel –> Programs and features
4. ที่ด้านซ้ายมือ ให้คลิ๊กที่ Turn Windows features on or off แล้ว เลือก Remote Desktop Services Tools ดังรูป
5. ต่อไปจะเป็นการเริ่มการใช้งาน MMC จริง ๆ แล้วนะครับ ให้คลิ๊กที่ start –> ที่ช่อง search พิมพ์ mmc แล้วคลิ๊กที่ตัวโปรแกรม
6. คลิ๊กที่ File –> Add/Remove Snap-in…
7. ด้านซ้ายมือ คือ Snap-Ins ที่เราสามารถใช้งานได้ ในที่นี้เราจะเลือกใช้ Remote Desktops ให้ทำการคลิ๊กที่ Remote Desktops แล้วคลิ๊กที่ Add >
8. ที่ Console Root จะปรากฎ Snap-In ที่เราได้ทำการเลือกไว้คือ Remote Desktops ให้คลิ๊กขวาแล้วเลือก Add new connection….
9. ให้กรอกข้อมูลที่จำเป็น เช่นหมายเลขไอพีแอดเดรส ชื่อผู้ใช้งาน ของเครื่องที่เราต้องการจะ Remote Desktop
10. ถึงขั้นตอนนี้ ก็สามารถใช้งานได้แล้วครับ แต่หากจะใช้งานให้สมบูรณ์ ต้องปรับแต่งอีกนิด คือ คลิ๊กขวาชื่อเครื่องที่ต้องการแล้วเลือก Properties
11. ที่ TAB Screen Options เลือก Choose desktop size เป็นขนาดที่เหมาะสม ในที่นี้เลือกเป็น 1024 x 768
12. แค่นี้ก็เสร็จสมบูรณ์แล้วครับ ให้เราทำการคลิ๊กชื่อเครื่องที่ต้องการ Remote Desktop หรือคลิ๊กขวาแล้วเลือก Connect
13. ระบบจะให้กรอก Username และ Password เหมือนกับการ Remote Desktop ทั่วไปครับ
14. หากต้องการจะเพิ่มเครื่องที่ต้องการ Remote Desktop ก็ทำเหมือนเดิมครับ คือ คลิ๊กขวา เลือก Add new connection….
15. สุดท้าย ก็อย่าลืมบันทึก Snap-In นะครับ โดยคลิ๊กที่ File –> Save As….
16. รูปของ Snap-In จะเป็นรูปกล่องเครื่องมือนะครับ สามารถเรียกใช้งานได้ตลอดครับผม อ้อ ลืมบอกไป ว่าสามารถก๊อปตัวนี้ ไปใช้กับเครื่องอื่น ที่มีพื้นฐานเดียวกันได้ด้วยนะครับ